รายชื่อ Hub ที่ วช. สนับสนุน

รายชื่อ backup

รายชื่อ Hub ที่ วช. สนับสนุน

ศูนย์กลางความรู้และเทคโนโลยีด้านมันสำปะหลัง

Hub of Knowledge and Technology Center of Cassava

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.วันวิสา ศิริวรรณ์

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.วันวิสา ศิริวรรณ์

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

เกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางความรู้และเทคโนโลยีด้านมันสำปะหลัง คือศูนย์กลางความรู้ด้านมันสำปะหลัง โดยการจัดตั้งเครือข่ายที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ด้านมันสำปะหลัง และพัฒนากลไกที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการกระบวนการวิจัยร่วมกัน ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลความรู้ งานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ผู้เชี่ยวชาญ และสร้างเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์ผักของประเทศไทย

Hub of Talents for Thai Vegetable Seeds

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ชัชมาศ กาญจนอุดมการ

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ชัชมาศ กาญจนอุดมการ

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

เกษตรศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์ผักของประเทศไทย เป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืชผักทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะพืชผักเขตร้อนซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาโจทย์วิจัยให้เป็นไปตามความต้องการของ supply chain เพื่อผลักดันการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพืชผักเศรษฐกิจและผักพื้นบ้าน เป็นการส่งเสริมความสำคัญของงานด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อมาตรการความมั่นคงทางอาหารโลก

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

Hub of Talents : Flower and Ornamental plant production technology

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

-

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

-

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

เกษตรศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) ด้านเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เป็นการรวบรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวงการไม้ดอกไม้ประดับ ตลอดจนการพัฒนาและรวบรวมองค์ความรู้จากเครือข่ายนักวิจัยและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการปรับปรุงสายพันธุ์ และกระบวนการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ การนำองค์ความรู้จากการดำเนินงานที่ผ่านมาไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดทำระบบชุดข้อมูลนักวิจัยและเกษตรกรในเครือข่ายในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศไทยมีศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) ด้านเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ และมีการสร้างความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่สถาบัน/ศูนย์วิจัยในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ที่มีเอกลักษณ์ในศาสตร์ สาขา ประเด็น หรือบริบทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงการนำผลผลิตไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยมีการบูรณาการศาสตร์หลากหลายแขนงร่วมกัน จากความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในประเทศต่อไป

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

Hub of Talents for Microbial Biotechnology in Agriculture and Agro-Industry

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. สุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. สุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

เกษตรศาสตร์

ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ที่อยู่ในระดับต้นของโลก การวิจัยและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในประเทศไทยมีความก้าวหน้าและพัฒนามาตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติ และ นโยบาย BCG Economic model ของรัฐบาล เศรษฐกิจจุลินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกกำหนดให้เป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาประเทศไทยตามแนวนโยบายดังกล่าว การส่งเสริมกิจกรรมของนักวิจัยไทยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัยไทยกับนักวิจัยในต่างประเทศ นำไปสู่การยกระดับของนักวิจัยไทยสู่ระดับสากล ทำให้ประทศไทยมีบทบาททางด้านวิชาการ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีเป้าหมายหลักในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรโดยการเปิดรับสมัครสมาชิกของ Hub และการเชิญชวนนักวิจัยในกลุ่มเป้าหมายเช่น คณะเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตรในมหาวิทยาลัยต่างๆ นักวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในสถาบันวิจัยทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนเข้ามาเป็นสมาชิกของ Hub นำไปสู่การจัดทำฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และเผยแพร่สู่สาธารณะชน เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานของนักวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิจัย ตลอดจนเป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีประสบการในการทำงานกับนักวิจัยอาวุโส นำไปสูการทำงานแบบเป็นทีมและมีทิศทางที่ชัดเจน สร้างสรรค์บรรยากาศในการทำวิจัยที่มีคุณภาพ ส่งเสริม และยกระดับกระบวนการการวิจัยของนักวิจัยไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล

ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของกาแฟประเทศไทย

Hub of knowledge in Thailand's Coffee Technology and Value Chain Management

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.อมร โอวาทวรกิจ

-

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.อมร โอวาทวรกิจ

-

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

เกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของกาแฟประเทศไทย มีพันธกิจในการรวบรวมองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตกาแฟ สร้างเครือข่ายการทำงานแบบเชื่อมโยงระหว่างผู้ปลูก ผู้แปรรูป มหาวิทยาลัย ภาครัฐและเอกชนและให้บริการและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟอย่างครบวงจร

ศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยข้าวของประเทศไทย

Thailand Rice Science Research Hub of Knowledge

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

เกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยข้าวของประเทศไทย พันธกิจหลักของศูนย์ฯ คือเป็นศูนย์กลางความร่วมมือที่เชื่อมโยงนักวิจัยและนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมพัฒนาพันธุ์ข้าวไทยให้แข็งแกร่ง สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมข้าว ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวบรวมองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและพันธุ์ข้าว ต่อยอดพัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไทยให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงโจทย์ความต้องการเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าข้าวไทย นอกจากนี้ศูนย์ ยังทำหน้าที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่นักวิจัย เกษตรกร และผู้ประกอบการ และพัฒนาธนาคารพันธุ์ข้าวเพื่อเก็บรักษาพันธุ์ข้าวที่ใช้ในการวิจัย

ศูนย์กลางความรู้เลเซอร์วิทยาสำหรับช่องปากและใบหน้า

Hub of knowledge in orofacial laserology

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ทพญ.ศจี สัตยุตม์

-

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ทพญ.ศจี สัตยุตม์

-

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ที่มาของศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเลเซอร์วิทยาสำหรับใบหน้าและช่องปาก กลุ่มวิจัยเลเซอร์วิทยาทางทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการและการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการวิจัยและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับและขยายองค์ความรู้ด้านเลเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับช่องปากและใบหน้า กลุ่มวิจัยฯ ร่วมกับเครือข่ายกว่า 10 องค์กร ได้ริเริ่ม “โครงการศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเลเซอร์วิทยาสำหรับใบหน้าและช่องปาก” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในระดับประเทศ พัฒนาเป็นศูนย์กลางอ้างอิงระดับอาเซียน และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ ศูนย์กลางการเรียนรู้แห่งนี้มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญผ่านกิจกรรมทางวิชาการ งานวิจัย และการให้บริการวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยใช้เลเซอร์ในการดูแลรักษาในช่องปากและใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน Background of the Hub of Knowledge in Orofacial Laserology. The Lasers in Dentistry Research Group at Khon Kaen University was established in 2011 and has since developed strong academic expertise and collaborative partnerships with public and private sectors in both academic and healthcare services. To advance and expand knowledge related to laser applications in the orofacial region, the research group together with more than 10 partner organizations initiated the “The Hub of Knowledge in Orofacial Laserology”. The initiative aims to promote the application of laser knowledge nationwide, establish a reference center at the ASEAN regional level, and foster collaborative networks both nationally and internationally. This hub of knowledge is committed to the dissemination of knowledge and expertise through academic activities, research, and professional health services utilizing laser technology for oral and facial care in a sustainable and impactful way.

ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีตัวรับรู้ทางเคมีและชีวภาพ

Hub of Knowledge in Chemical Sensor and Biosensor Technology

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ศูนย์กลางความรู้ด้านเทคโนโลยีตัวรับรู้ทางเคมีและชีวภาพ เป็นศูนย์เพือการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์หรือตัวรับรู้ที่สร้างขึ้นในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักคือการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการและเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ เช่น การเกษตร การประมง การแพทย์ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้รวมทั้งเทคโนโลยีจากการวิจัยด้านเทคโนโลยีตัวรับรู้ทางเคมีและชีวภาพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีตัวรับรู้ไปประยุกต์ใช้จริงในภาคการเกษตร การประมง อุตสาหกรรมและสังคม

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือแพทย์และวัสดุการแพทย์ชนิดบุกรุกน้อย

Hub of Talent for Minimal Invasive Medical Devices and Standardization

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ

-

สมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ

-

สมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือแพทย์และวัสดุการแพทย์บุกรุกน้อย จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และบุคลากรเฉพาะทาง พร้อมสร้างเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต การจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือแพทย์บุกรุกน้อย เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง Ecosystem ที่สมบูรณ์แบบ สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี ทางการแพทย์ในประเทศไทย ช่วยลดการนำเข้า เพิ่มการผลิตในประเทศ และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถใช้ได้ทั้งในไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์บุกรุกน้อยระดับภูมิภาค ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข

Health Innovation and Technology Network

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย

-

มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย

-

มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Health Innovation and Technology Network) เป็นต้นแบบการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) ที่มุ่งเน้นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Digital Healthcare Innovation การดูแลระบบบริการสุขภาวะ ได้แก่ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (Healthcare Logistics and Supply Chain), เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology) และปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (AI and Robotics) โดยมีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รวบรวมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน รวมถึงเครือข่ายต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานวิจัยและบริการวิชาการทางด้าน Digital Healthcare Innovation การดูแลระบบบริการสุขภาวะ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีส่งเสริมศักยภาพพัฒนากำลังคนในด้านนวัตกรรมสุขภาพดิจิทัล เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่าย รวมถึงให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงและยั่งยืน ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ มีศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการพื้นฐานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เชื่อมโยงองค์ความรู้ทุกภาคส่วน สร้างทักษะกำลังคนและแรงงานที่มีความรู้ความสามารถในการนำความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Innovation and Technology) และเทคโนโลยีดิจิทัลไปพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนภาพอนาคตของการพัฒนาระบบสุขภาพของสังคมไทยให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่พร้อมด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยทางคลินิก

Hub of Talents for the Development of Clinical Research Professionals

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ

-

มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ

-

มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

การจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยทางคลินิก (Hub of Talents for the Development of Clinical Research Professionals) จะมุ่งเน้นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางคลินิก เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา เครื่องมือแพทย์ สมุนไพรหรือสารสกัดธรรมชาติ อาหารเสริมทางการแพทย์ และ Cell and Gene Therapy รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการวิจัยทางคลินิกผ่านการเรียนรู้แบบ e-Learning และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับองค์กรทั้งในและนอกสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ที่สนใจ โดยมีการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมายหลักคือการสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความรู้เพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติงานวิจัยทางคลินิกได้ตามมาตรฐานสากล

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน

Human Movement Science Center of Excellence

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ศูนย์การแพทย์ในประเทศไทยที่จะให้บริการการตรวจประเมิน การวินิจฉัย ทางด้านการเคลื่อนไหวในมนุษย์แบบองค์รวมด้วยทีมบุคลากรแบบสหสาขาวิชาชีพมาก่อน จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน (Hub of Talents : Parkinson’s Disease) ที่จะถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในการรวมความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ในการให้บริการดูแลทางด้านการเคลื่อนไหวในมนุษย์ โดยที่ทำงานร่วมกันแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและดูแลรักษาความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวในมนุษย์

ศูนย์กลางความรู้ด้านวัสดุคาร์บอนต่ำ

Hub of Knowledge for Low Carbon Materials

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ปวริน ตันตริยานนท์

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ปวริน ตันตริยานนท์

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ศูนย์กลางความรู้ด้านวัสดุคาร์บอนต่ำ เป็นศูนย์กลางประสานและเชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านวัสดุคาร์บอนต่ำ สร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุคาร์บอนต่ำจากการเกษตร ด้วยการรวบรวมและจัดกลุ่มงานวิจัยตามการนำไปประโยชน์และการลดรอยเท้าคาร์บอน เชื่อมต่อการใช้ประโยชน์วัสดุคาร์บอนต่ำจากการเกษตร เพื่อการเพิ่มมูลค่าและสร้างเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งห่วงโซ่คุณค่า ทำการรวบรวมวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัสดุคาร์บอนต่ำจากการเกษตร ในประเทศไทย เพื่อจัดทำคลังองค์ความรู้ด้านวัสดุคาร์บอนต่ำจากการเกษตร เป็นศูนย์ฯ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ด้านวัสดุคาร์บอนต่ำจากการเกษตร รวมทั้งเป็นศูนย์ฯ รวบรวมข้อมูลเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่อุปทานของวัสดุคาร์บอนต่ำจากการเกษตร ในด้านการลดรอยเท้าคาร์บอนและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ

Hub of Talents on Air Pollution and Climate

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา

-

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา

-

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (ศชอ.) หรือ Hub of Talents on Air Pollution and Climate (HTAPC) ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเครือข่าย ความเชื่อมโยง และการดำเนินการร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญในประเทศ และร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ในการสร้างองค์ความรู้ด้านวิชาการสำหรับการนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อไป

ศูนย์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

Hub of Environmental Health

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.คุณหญิง มธุรส รุจิรวัฒน์

-

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.คุณหญิง มธุรส รุจิรวัฒน์

-

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ศูนย์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถบูรณาการองค์ความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญจากสหสาขา มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาของประเทศ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีอยู่ในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มีความเข้มแข็งพร้อมทำงานวิจัยร่วมกัน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรให้แก่ประเทศและภูมิภาค รวมถึงเป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยจากที่ต่างๆ ที่ชาดโอกาสในการแสดงศักยภาพ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาความความรู้ เพิ่มขีดความสามารถรอบด้านในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุยั่งยืนเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน

Hub of Talents of Sustainable Materials for Circular Economy

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุยั่งยืนเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน มีรูปแบบโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในภาคการศึกษาที่มีความร่วมมือกับต่างประเทศ และความร่วมมือกับภาคเอกชนในลักษณะการดำเนินงานรูปแบบ Consortium เสริมศักยภาพมหาวิทยาลัยผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้เครื่องมือและห้องปฏิบัติการภายใต้เครือข่ายสถาบันร่วม ด้วยคณาจารย์มากกว่า 200 คน จาก 11 หน่วยงาน ใน 7 มหาวิทยาลัย อีกทั้ง ยังมีความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีความร่วมมือด้านงานวิจัย การพัฒนานวัตกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการเสริมสร้างเครือข่ายทางการวิชาการหรือวิจัย ร่วมพัฒนาโจทย์วิจัยและนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม หรือเส้นทางสู่นวัตกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม

ศูนย์กลางด้านความรู้ทางวิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่

Center of Excellence on Catalysis and Catalytic Reaction Engineering - CECC

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ศูนย์กลางด้านความรู้ทางวิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงและยั่งยืน มีการทำงานร่วมกันระหว่าง นักวิจัยจากภาครัฐ และ เอกชน ทั้งด้านงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์เพื่อหาตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นปฏิกิริยาในการเปลี่ยนผลิตสารฐานชีวภาพ (Bio-based) เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์หรือสารตั้งต้นแบบเดิมที่มาจากปิโตรเลียม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยในอุตสาหกรรมเกษตร น้ำมันและ ปิโตรเคมี รวมถึงการแสวงหาความร่วมมือกับนักวิจัยชั้นนำในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ และ การส่งนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยเข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่จากนักวิจัยชั้นนำในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ การสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในประเทศอาเซียน การจัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่บุคคลทั่วไป

ศูนย์กลางการเรียนรู้การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำโขง

Mekong River Basin Biodiversity Conservation Utilization Network

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

รวบรวมองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำโขง จากผู้เชี่ยวชาญหลากสาขา หลากสถาบันเพื่อสร้างเครือข่ายทำงานวิจัยเชิงลึกในทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ (พันธุกรรม สปีชีส์ และระบบนิเวศ) ให้เป็นปัจจุบันที่เป็นพลวัต เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยใช้โจทย์สถานการณ์วิกฤติแม่น้ำโขงเป็นตัวขับเคลื่อน นำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในพื้นที่สองฝั่งลุ่มน้ำโขงของภูมิภาค

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญการวิจัยเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งประเทศไทย

Thailand Hub of Talents in Cybersecurity Research

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.วราภรณ์ พรหมวิกร

-

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.วราภรณ์ พรหมวิกร

-

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญการวิจัยเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ นำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านการวิจัยสหสาขาเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทั้งเชิงเทคนิคและสหสาขาเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม solutions และการบริการใหม่ ๆ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมในประเทศให้เข้มแข็งทัดเทียมกับต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการมี Ecosystem ที่เอื้อต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีการสานพลังเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยสหสาขาเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และสังคมเกิดความตระหนักรู้เท่าทันและมีความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมยุคดิจิทัล

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งอนาคต

Hub of Talents in AI and Innovation Next (AI-Next)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ธีรยุทธ โหรานนท์

-

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ธีรยุทธ โหรานนท์

-

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยี AI และ Big Data กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนากำลังคนทักษะสูงด้าน AI และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เข้มแข็ง โครงการ AI-Next จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ พัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูง ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจ และเชื่อมโยงความร่วมมือระดับนานาชาติ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย AI อย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Hub of Talents for Gem and Jewelry Industry

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นการผสานนักวิจัย ห้องปฏิบัติการ และครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของ หน่วยงานต่างๆ ภายใต้ศูนย์ฯ หรือเครือข่ายภายในและต่างประเทศของศูนย์ เพื่อพัฒนานักวิจัย ต่อยอดและขยาย ผลงานวิจัย สู่ผู้ประกอบในระดับต่างๆ ทั้ง SME และบริษัทธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมทุกระดับทั้งต้นน้ำถึง ปลายน้ำ เพื่อรวบรวมโจทย์ปัญหาตามประเด็นที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ และผลักดันงานวิจัยเชิงลึกให้เกิด การใช้งานจริงผ่านภาคธุรกิจ โรงงาน อุตสาหกรรม และภาคห้องปฏิบัติการ ซึ่งคาดว่าหากทำได้ตามวัตถุประสงค์ แล้วจะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากงานวิจัยไทยที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม อันจะช่วยยกระดับรายได้ต่อ หัวของประชากรและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน

ศูนย์กลางด้านความรู้การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์

Hub of Knowledge in Space Technology and its Applications

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์กลางด้านความรู้การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ เป็นศูนย์รวมบุคลากรด้านเทคโนโลยีอวกาศขั้นสูง และเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญภายใต้องค์ประกอบด้านวิศวกรรมของประเทศ เพื่อสนับสนุนการค้นพบองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์อวกาศในบริบทใหม่ที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับพลวัตของโลก

ศูนย์กลางความรู้ด้านการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษยชาติ

Hub of Knowledge in Microwave Heating: Sustainable Approaches to Reducing Humanity's Carbon Footprint

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ

-

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ

-

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์กลางความรู้ด้านการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษยชาติ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟ การใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟในกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตทางการเกษตร และการพัฒนานักวิจัยที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟในการสังเคราะห์วัสดุฟังก์ชันต่าง ๆ สำหรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านอาหาร พลังงานและสิ่งแวดล้อม จะมีการการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟและเทคโนโลยีการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟเพื่อการประยุกต์ทางด้านเคมี อาหาร เกษตร พลังงานและสิ่งแวดล้อม และจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครเวฟต้นแบบสำหรับการวิจัยเพื่อทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศ ซึ่งนักวิจัยสามารถใช้ในการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอนาคต

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจสำหรับอวกาศยาน

Hub of Talents in Spacecraft Scientific Payload

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจสำหรับอวกาศยาน เป็นศูนย์รวมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์มูลฐาน เพื่อตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้าวิจัย และเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญภายใต้องค์ประกอบด้านวิศวกรรมของประเทศ ค้นพบองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์อวกาศในบริบทใหม่ที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระแสพลวัตของโลก

ศูนย์กลางความรู้ด้านมุสลิมไทย

Center for Knowledge on Muslim in Thailand

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.ศราวุฒิ อารีย์

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร.ศราวุฒิ อารีย์

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

สังคมศาสตร์

ศูนย์กลางความรู้ด้านมุสลิมไทย จะเป็นศูนย์ตั้งขึ้นใหม่โดยคณะทำงานด้านมุสลิมศึกษาและเชี่ยวชาญของสถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งคณะทำงานด้านมุสลิมศึกษาทำงานภายใต้พันธกิจสร้างองค์ความรู้ด้านมุสลิมศึกษามานานกว่า 19 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชา ดำเนินการศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านวิชาการในลักษณะสหสาขาวิชา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านมุสลิมศึกษา โดยให้ความสำคัญทั้งในเชิง “พื้นที่” และ “ประเด็นปัญหา” ทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก ตลอดจนโลกมลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินงานวิจัยและงานวิชาการด้านมุสลิมศึกษาในมิติต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ลุ่มลึก และเป็นระบบเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการ รวมทั้งให้คำปรึกษา ร่วมพัฒนานโยบายของรัฐบาล และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโลกมุสลิมทั้งในภาพกว้างและภาพลึกให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป และเพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในด้านต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศ ระดับระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคของโลกมุสลิม ในอีกด้านหนึ่ง วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก เป็นวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการบริหารธุรกิจอิสลามในประเทศไทยซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโต ในขณะที่แนวโน้มความต้องการด้านตลาดแรงงาน ด้านธุรกิจฮาลาล และการบริการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศมุสลิมมีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฮาลาล การเงินอิสลาม การบริหารกิจการการฮัจย์และอุมเราะห์ คณะทำงานของศูนย์ฯ จากทั้งสองสถาบัน และเครือข่ายอื่นๆ มีผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านมุสลิมศึกษามากกว่า 30 บทความในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา และนับได้ว่าเป็นการทำงานด้านมุสลิมศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์งานวิชาการที่กว้างขวางและได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่ง

ศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาการอาชญากรรม

Center for Crime Science

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.พ.ต.อ.ดร.พิพัฒน์ จันทร์รวม

-

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.พ.ต.อ.ดร.พิพัฒน์ จันทร์รวม

-

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

สังคมศาสตร์

ศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาการอาชญากรรมในระดับภูมิภาค มุ่งเน้นแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ประเทศไทยและอาเซียนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่ซับซ้อนและรุนแรงขึ้น เช่น การค้ามนุษย์ ยาเสพติด ฟอกเงิน และอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งล้วนไร้พรมแดนและต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคโนโลยี และประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิทยาการอาชญากรรมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนทั้งเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน และสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีความพร้อมในการป้องกัน รับมือ ยับยั้งอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ผ่านกิจกรรมของศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการต่อยอดพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องยั่งยืน

ศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

Hub of Knowledge on prevention and solution of drug problems (PSDP-Hub)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.พล.ต.ต.หญิง พัชรา สินลอยมา

-

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.พล.ต.ต.หญิง พัชรา สินลอยมา

-

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

สังคมศาสตร์

ศูนย์กลางองค์ความรู้ต้นแบบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือ PSDP-Hub เป็นการดำเนินการในระยะที่ 1 ได้แก่การดำเนินการในเรื่องการให้ความรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานทางความรู้ด้านกฎหมายความเข้าใจในอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ การสร้างกลไกการป้องกันอาชญากรรม โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด จากผู้เชี่ยวชาญของเครือข่ายพันธมิตร (Partner) การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (Network Expertise) เครือข่ายนักวิจัย (Network Researcher) และเครือข่ายพันธมิตร (Network Partner) ถูกจัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ในระบบแฟลตฟอร์มศูนย์ PSDP-Hub ประกอบไปด้วยองค์ความรู้ 3 ส่วนหลัก องค์ความรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสาธารณสุขในการบำบัดฟื้นฟู และ (3) องค์ความรู้ด้านกระบวนการทางชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

โครงการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

Knowledge Hub of Regional Anti-corruption and good governance Collaboration (KRAC)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

สังคมศาสตร์

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค ดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีภารกิจ คือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการและภาคปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย และพัฒนาและขยายเครือข่ายความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนร่วมพัฒนา องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาและสร้างการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การคอร์รัปชันในประเทศไทยในทางที่ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายระดับนานาชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด

Hub of Talents on Drugs Law Enforcement in Thailand

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.พล.ต.ต. ดร.ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์

-

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.พล.ต.ต. ดร.ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์

-

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

สังคมศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด เป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังคนที่มีทักษะและศักยภาพสูง เพื่อต่อยอดงานวิจัย สร้างนวัตกรรม และพัฒนางานด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ (Talent) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด ดำเนินการร่วมกันผ่านทางระบบแฟลตฟอร์มดิจิทัล และการจัดประชุมทางวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางในการวิจัยขั้นสูง สามารถผลิตนักวิจัยที่เป็นผู้นำทางความรู้ด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดของประเทศ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับเครือข่ายต่างประเทศเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจและสังคม

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

Hub of Talents in Gastronomy Tourism

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. พรรณี สวนเพลง

-

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. พรรณี สวนเพลง

-

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

สังคมศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร เป็นแหล่งรวบรวมผู้เชี่ยวชาญเชิง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ระหว่างเครือข่ายนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นักพัฒนาการท่องเที่ยว และปราชญ์ด้านอาหารของท้องถิ่นไทย สู่การสร้างวิทยาการใหม่ เครือข่ายใหม่ ร่วมขับเคลื่อน “การท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนอาหารไทย” ให้เป็นที่รู้จัก เน้นการเสริมสร้างผู้เชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ ผลักดัน สืบสาน ต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยสู่เวทีโลก บนพื้นฐานงานวิชาการ พร้อมการประยุกต์ศาสตร์สู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันครัวไทยสู่ครัวโลก

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการเฝ้าระวังความรุนแรงและความขัดแย้ง

Hub of Talents on Violence and Conflict monitoring

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

-

มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

-

มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

มนุษยศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการเฝ้าระวังความรุนแรงและความขัดแย้ง มุ่งเน้นการพัฒนา ขยายและยกระดับฐานข้อมูลเพื่อนำไปสร้างโมเดลในการพัฒนาฐานข้อมูลแบบบูรณาการโดยใช้ข้อมูลอธิบายความเป็นจริงในพลวัตเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทำให้มองเห็นทั้งฐานข้อมูลเหตุการณ์ความรุนแรง ฐานข้อมูลเศรษฐกิจสังคม ฐานข้อมูลความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่และข้อมูลโครงการ/งบประมาณรัฐในระดับพื้นที่ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นภาพทางภูมิศาสตร์ในมิติของเวลาและแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างมีปฏิสัมพันธ์กัน รวมทั้งขยายพื้นที่และยกระดับไปสู่ฐานข้อมูลเฝ้าระวังความรุนแรงและความขัดแย้งในระดับประเทศ โดยสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิชาการในส่วนกลางเพื่อเชื่อมโยงและประสานการทำงานของหน่วยงานที่ทำงานด้านฐานข้อมูลซึ่งมีต่างคนต่างทำงานเฉพาะประเด็นของตน มาสู่การสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งทางวิชาการของผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงและความขัดแย้งเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้จากฐานข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบและสร้างผลกระทบเชิงบวกและร่วมกันสร้างสรรค์เครื่องมือและวิธีการเชิงรุกต่อการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้จะขยายและยกระดับความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป้าหมายสำคัญก็คือสร้างศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการเฝ้าระวังความรุนแรงและความขัดแย้งทั้งในภาคใต้ ในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมสังคมด้านดนตรี

Hub of Talents in Music as Social Innovation (MAS)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.อโณทัย นิติพน

-

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.อโณทัย นิติพน

-

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

มนุษยศาสตร์

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมสังคมด้านดนตรี เป็นศูนย์กลางกำลังคนทักษะสูงที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในด้านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรี เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของโลกปัจจุบัน โดยครอบคลุมไปถึงประเด็นในด้านการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ดนตรี สร้างสุนทรีย์ (Music Makes Senses) มุ่งเน้นในด้านการพัฒนานวัตกรรมดนตรีที่เข้าถึงง่าย ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกัน และเปิดประสบการณ์ทางดนตรีคุณภาพแก่สาธารณชนอย่างลึกซึ้งและสร้างสรรค์ 2) ดนตรี สร้างความเปลี่ยนแปลง (Music Makes Changes) มุ่งเน้นการใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคม เสริมสร้างความเข้าใจ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้คนหลากหลายร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคม และประเด็นที่ 3) ดนตรี สร้างคน (Music Makes Humanity) มุ่งเน้นการพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนดนตรีเพื่อสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ จิตใจ และความเข้าใจผู้อื่น เสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลาย จาก 3 ประเด็นดังกล่าว จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยศึกษาจากปรัชญาแนวคิดของภูมิภาคเอเชีย และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน

ศูนย์กลางความรู้ศิลปะมวยไทยสู่ระดับโลก

Hub of Muay Thai knowledge to world class

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล

-

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

มนุษยศาสตร์

ศูนย์กลางความรู้ศิลปะมวยไทยสู่ระดับโลก เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านมวยไทย พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยโดยบูรณาการศาสตร์และเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และเอกลักษณ์มวยไทย เผยแพร่และถ่ายทอดไปสู่ระดับนานาชาติ