วช. โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ เข้าร่วมการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 24

SHARE

วช. โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ เข้าร่วมการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 24

วันที่ 20–21 พฤษภาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate – HTAPC) เข้าร่วมการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ภายใต้หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมสีเขียวพร้อมด้วยสังคมคาร์บอนต่ำ สู่ความยั่งยืนเพื่อสุขภาวะที่ดีของมวลมนุษย์” ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.สุพัฒน์ หวังวังษ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์ HTAPC และ น.ส.กรรณิกา ดุรงคเดช ผู้อำนวยการภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมงานประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 และร่วมจัดนิทรรศการในรูปแบบบูธ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษอากาศ จำนวนทั้งสิ้น 7 ผลงานได้แก่

1) การปรับแก้ค่าตรวจวัด PM2.5 จากเซนเซอร์ราคาประหยัดด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ โดย รศ. ดร. ธงชัย ขนาบแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการลดฝุ่นจากไอเสียรถยนต์กลุ่มเป้าหมาย (รถกระบะและรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล) โดย ดร.นุวงศ์ ชลคุป สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

3) การพัฒนาระบบการตรวจวัดการระบาย PM1.0, PM2.5, และ PM10 จากปล่องแบบต่อเนื่องออนไลน์ด้วยเวลาจริง โดย รศ. ดร.พานิช อินต๊ะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

4) การวิเคราะห์ความเปราะบางเชิงพื้นที่ต่อฝุ่น PM2.5 ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ โดย น.ส. วรนุช จันทร์สุรย์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

5) การพัฒนาเครื่องมือจัดสร้างพื้นที่เผาไหม้จากข้อมูลจุดความร้อนแบบจำลองข้อมูลไฟป่าและแอพพลิเคชั่นภูมิสารสนเทศบนเว็บ โดย รศ. ดร. สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6) การวิจัยและพัฒนาระบบประมวลผลรายงาน การติดตาม พื้นที่การเผาในที่โล่งด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง โดย ผศ. พ.ท. ดร. สรวิทย์ สุภเวชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7) การลดควันดำและPM2.5 ของเครื่องยนต์ดีเซลด้วยสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิง โดย น.ส. ฐิติพร วัฒนกุล กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ซึ่งเป็นการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม อันเป็นประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางด้านวิชาการระหว่างนักวิจัยจากสถาบัน การศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างองค์กรอีกด้วย

SHARE

ข่าวและประกาศอื่น ๆ

วช. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ “การท่องเที่ยวด้านอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่น”

วช. HTAPC GISTDA ร่วมกับ Breath Cities เสริมความรู้ด้านองค์ประกอบและแหล่งที่มาของสารมลพิษทุติยภูมิ ทั้งโอโซนและฝุ่น PM2.5

ขอเชิญชวนท่านเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ

วช. ร่วมกับศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดทำแผนแม่บทวิจัยด้าน Health Innovation and Technology” สู่อนาคตระบบสุขภาพไทย