วิศวกรรมและเทคโนโลยี 

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจสำหรับอวกาศยาน

Hub of Talents in Spacecraft Scientific Payload

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจสำหรับอวกาศยาน เป็นศูนย์รวมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์มูลฐาน เพื่อตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้าวิจัย และเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญภายใต้องค์ประกอบด้านวิศวกรรมของประเทศ ค้นพบองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์อวกาศในบริบทใหม่ที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระแสพลวัตของโลก

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค

Hub of Talents for Particle Accelerators

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล

-

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล

-

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันและหน่วยงานวิจัย พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้และปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเครื่องเร่งอนุภาคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเครื่องเร่งอนุภาค ผ่านเป้าหมายในการสร้างองค์ความรู้จากการลงมือทำและการร่วมทดลอง ณ สถาบันวิจัยที่มีความร่วมมือเดิมและสถาบันวิจัยใหม่ที่ต้องการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่งานวิจัยขั้นแนวหน้าสาขาใหม่ในประเทศและองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพังได้

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์ 3 มิติ

Hub of talent of 3d printing

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.อุไรวรรณ อินต๊ะถา

-

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.อุไรวรรณ อินต๊ะถา

-

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์ 3 มิติแห่งประเทศไทยจึงถือว่าเป็นแหล่งรวบรวมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยว เช่น ด้านการออกแบบ (Design) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) วัสดุ (Materials) ซอฟแวร์ (Software) รวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการผลิตแบบดิจิทัลอัจฉริยะในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมในประเทศ รวมทั้งการผลิตและจำหน่ายไปยังต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจต่อไป

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญของเครือข่ายนักวิจัยด้านชีวสารสนเทศแห่งประเทศไทย

Hub of Talents for Thailand Bioinformatics Research Network (TBRN)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.นพ. ดำเนินสันต์ พฤกษากร

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร.นพ. ดำเนินสันต์ พฤกษากร

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญของเครือข่ายนักวิจัยด้านชีวสารสนเทศแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์/สมาคมที่รวมกลุ่มนักวิจัยที่มีความสนใจด้านชีวสารสนเทศ (bioinformatics) โดยมีพันธกิจหลัก 4 ประการ ดังนี้ 1) สร้างเครือข่ายของนักวิจัยชีวสารสนเทศในประเทศไทย 2) ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน แบ่งปันศักยภาพของนักวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย 3) วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางในเชิงเทคนิคต่อหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางโครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศน์ของการทำวิจัยเกี่ยวข้องชีวสารสนเทศ 4) ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีชั้นสูงระหว่างเครือข่ายนักวิจัยสารสนเทศกับภาครัฐและอุตสาหกรรม

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสมาอย่างยั่งยืน

Hub of Talents for Plasma Technology

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสมาอย่างยั่งยืน เป็นศูนย์ที่รวบรวมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีพลาสมา ทั้งพลาสมาอุณหภูมิสูง และพลาสมาอุณหภูมิต่ำ ที่มีรูปแบบการใช้งาน และการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย อาทิ เครื่องโทคาแมค เครื่องบำบัดและสมานแผลด้วยพลาสมาเย็นที่อุณหภูมิห้อง ชุดกำเนิดพลาสมาเพื่อสร้างน้ำกระตุ้นพลาสมา เป็นต้น ซึ่งการจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศูนย์รวมเครือข่ายความร่วมมือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสมาสู่การเป็นผู้นำในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ผลักดันการใช้งานไปสู่เชิงนโยบายเพื่อวางแนวทางการพัฒนาในระยะกลางและระยะยาวที่เหมาะสม ส่งเสริมและกระตุ้นการใช้งานเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญของประเทศและอาเซียนให้มากขึ้น และเพื่อให้เห็นถึงการยกระดับบทบาทและการมีส่วนร่วม อีกทั้งนำเสนอและเผยแพร่ผลงานของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศและอาเซียน

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย

Thailand Hub of Talents in Microelectronic Designed

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร. สุขุม อิสเสงี่ยม

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ศ.ดร. สุขุม อิสเสงี่ยม

-

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจุบันไมโครอิเล็กทรอนิกส์ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมรากฐานของทุกอุตสาหกรรม และเป็นรากฐานของ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศ ไทย (Thailand Hub of Talents in Microelectronic Designed: THTMD) เป็นศูนย์ที่ก่อตั้งเพื่อโดยมีพันธกิจใน การรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านไมโครอิเล็กทรอนิก์ โดยพันธกิจในการพัฒนากำลังคน สร้างเครือข่ายการทำงานแบบ เชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาครัฐ และอุตสาหกรรม รวบรวมข้อมูลและให้คำแนะนำด้านไมโคร อิเล็กทรอนิกส์อย่างครบถ้วน และมุ่งเน้นให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และกระบวนการใหม่ๆ ที่ ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาดและภาคอุตสาหกรรม

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง

Hub of talent of rail transport system

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร. พรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ

-

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ผศ.ดร. พรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ

-

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางราง (Hub of Talents: Thailand Railway Research Network) สร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหลายสถาบันในการร่วมพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางราง และการขยายเครือข่ายความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษา วิจัย และอุตสาหกรรมแก่ระบบรางของประเทศไทย โดยมีพันธกิจหลัก 3 เรื่อง คือ 1. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย 2. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงสู่การรับรองมาตรฐานและการนำไปใช้งานจริง 3. การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสู่การพัฒนากำลังคนด้านระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย

ศูนย์กลางด้านความรู้การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์

Hub of Knowledge in Space Technology and its Applications

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ

-

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์กลางด้านความรู้การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ เป็นศูนย์รวมบุคลากรด้านเทคโนโลยีอวกาศขั้นสูง และเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญภายใต้องค์ประกอบด้านวิศวกรรมของประเทศ เพื่อสนับสนุนการค้นพบองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์อวกาศในบริบทใหม่ที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับพลวัตของโลก

ศูนย์กลางความรู้ด้านการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษยชาติ

Hub of Knowledge in Microwave Heating: Sustainable Approaches to Reducing Humanity's Carbon Footprint

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ

-

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้บริหารจัดการศูนย์ :

รศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ

-

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge)

สาขาการวิจัย :

วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ศูนย์กลางความรู้ด้านการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษยชาติ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟ การใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟในกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตทางการเกษตร และการพัฒนานักวิจัยที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟในการสังเคราะห์วัสดุฟังก์ชันต่าง ๆ สำหรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านอาหาร พลังงานและสิ่งแวดล้อม จะมีการการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟและเทคโนโลยีการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟเพื่อการประยุกต์ทางด้านเคมี อาหาร เกษตร พลังงานและสิ่งแวดล้อม และจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครเวฟต้นแบบสำหรับการวิจัยเพื่อทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศ ซึ่งนักวิจัยสามารถใช้ในการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอนาคต