ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ปัญจพาณ์ สุขโข ในโอกาสได้รับ รางวัล ICN Best E-Poster Award จากเวทีการประชุมวิชาการระดับโลก ICN Congress 2025

SHARE

ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ปัญจพาณ์ สุขโข ในโอกาสได้รับ รางวัล ICN Best E-Poster Award จากเวทีการประชุมวิชาการระดับโลก ICN Congress 2025

ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัญจพาณ์ สุขโข ในโอกาสได้รับ รางวัล ICN Best E-Poster Award จากเวทีการประชุมวิชาการระดับโลก ICN Congress 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9–14 มิถุนายน 2568 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ 🇫🇮

โดยการเดินทางไปนำเสนอผลงานในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนจากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติในเด็กในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวของประเทศไทยบนเวทีระดับนานาชาติ

🏅รางวัล ICN Best E-Poster Award เป็นรางวัลใหม่ที่มอบให้กับผลงานโปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความโดดเด่นทั้งในด้านคุณภาพทางวิชาการ ความเชื่อมโยงกับประเด็นสุขภาพระดับโลก และผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนพยาบาลนานาชาติ

โดยพิจารณาตามเกณฑ์หลัก 3 ประการ ได้แก่:

1. คะแนนบทคัดย่อจากการพิจารณารอบแรก

2. จำนวนผู้เข้าชมผ่านแอปพลิเคชันของการประชุม

3. คุณภาพการออกแบบและการนำเสนอโปสเตอร์

📚 ผลงานที่ได้รับรางวัลคือ “Developing a Pediatric Disaster Management Education Model for Earthquake-Prone Areas in Thailand: Enhancing Preparedness and Response”

โดยใช้ PANJAPA Model ซึ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพยาบาลเด็กในบริบทของภัยพิบัติแผ่นดินไหว 🏥🌍 ผลงานนี้อยู่ภายใต้หัวข้อย่อย (Sub-theme 6): “Nursing in Humanitarian and Emergency Contexts” ที่มุ่งเน้นการดูแล “เด็ก” ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์ภัยพิบัติที่ซับซ้อนและท้าทาย

✨รางวัลนี้ไม่เพียงเป็นความสำเร็จของนักวิจัย แต่ยังเป็นเกียรติของประเทศไทยและสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของการวิจัยด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหวในเด็กที่ได้รับการส่งเสริมโดยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่ระดับโลกอย่างแท้จริง

SHARE

ข่าวและประกาศอื่น ๆ

วช. ร่วมกับผู้ประกอบการ ศรีตรัง บางกอกพัฒนามอเตอร์ สมาคมถุงมือยาง นำผู้ประกอบการขับเคลื่อนยางพาราด้วยวิจัยและนวัตกรรม

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว และ APBT ร่วมฟังสัมมนา “Sustainable Rice, Sustainable Life: ข้าวดี … ชีวิตดี” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568

วช. และศูนย์กลางความรู้ศิลปะมวยไทยสู่ระดับโลกร่วมพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านกิจกรรม “มวยไทยในสถานศึกษา” ยกระดับศิลปะการต่อสู้สู่หลักสูตรวิชาการ

วช. โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ เข้าร่วมการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 24